ทำไมจึงควรเรียนที่สาขา “ไทยศึกษา”?
ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ ไม่ได้ตกเป็นประเทศภายใต้อาณานิคมของชาวตะวันตก ทำให้ยังมีประเพณี, วรรณกรรม, และวัฒนธรรมที่เป็นอิสระ
ที่สาขาวิชาไทยศึกษา เน้นให้มีการศึกษาทางด้านภาษา วัฒนธรรม วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และสังคมของประเทศไทย และในบางภูมิภาคของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว และกลุ่มชนอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง โดยเป็นการศึกษาที่มีหลักเกณฑ์ และตรวจสอบได้ นอกจากนี้ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของประเทศไทยในประเด็นต่างๆ ที่มีความร่วมสมัยนั้น ยังจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้านสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา ภูมิศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์มาเป็นส่วนร่วมอีกด้วย ซึ่งนี่เป็น ฐานของขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมของการศึกษาภาษาไทยนั่นเอง
ภาษาไทยถือเป็นภาษากลางที่มีความแพร่หลายเป็นอย่างมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังถือเป็นภาษาที่ได้รับการศึกษาโดยใช้หลักเกณฑ์การศึกษาตามหลัก ภาษาศาสตร์ โดยรวมแล้ว ภาษาไทยและภาษาที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาที่มีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน
โอกาสทางด้านอาชีพ
ได้มีการจัดเตรียมความพร้อมทั้งความรับผิดชอบและความกระตือรือร้นแก่นักศึกษา ปริญญาตรี ให้พร้อมเปิดรับสำหรับกิจกรรมที่หลากหลายทางด้านภาษา วัฒนธรรมและ การนำเอาความรู้ไปปรับใช้ เฉกเช่นเดียวกับการพัฒนาทักษะความรับผิดชอบและ การเตรียมความพร้อมต่อการศึกษาในระดับปริญญาโทต่อไป
ข้อมูลอย่างย่อ
ประเทศไทยในปัจจุบัน ได้เกิดการทำงานอย่างเป็นอิสระซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับ เนื้อหาทางด้านวิชาการผ่านทางทักษะการสื่อสาร การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ด้าน ภาษา ของกลุ่มภาษาไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาลาว ภาษาเหนือหรือฉาน ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมของไทย รวมถึงภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษา ลาว) สังคม การเมืองและเศรษฐกิจของไทย วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมทาง ศาสนาของไทย (ส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท)
ระยะเวลาของการเรียน: 8 ภาคเรียน (รวมทั้งภาคเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศไทย ซึ่งหมายรวมถึงทุนการศึกษาที่นักศึกษามีโอกาสที่จะได้รับ
ระยะเวลาที่เริ่มเรียน: ทุกภาคเรียนฤดูหนาว
ภาษาที่ใช้ในชั้นเรียน: เยอรมัน อังกฤษ และไทย
ทุก 8 ภาคเรียนใหม่ของนักศึกษาปริญญาตรี “ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้” (สาขาวิชาไทยศึกษา) หมายรวมถึงหนึ่งภาคเรียนแลกเปลี่ยนกับ มหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรในประเทศไทย ในกรณีนี้ เราได้มีการทำการตกลงร่วมมือ กันในระยะยาว (หรืออาจอยู่ในระหว่างกระบวนการเจรจา)
มหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรกับเราในขณะนี้
มหาวิทยาลัยบูรพา (ชลบุรี), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (กรุงเทพฯ), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (เชียงใหม่), มหาวิทยาลัยนเรศวร (พิษณุโลก), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพฯ – ปทุมธานี)