บอร์ดกรรมการ

Prof. Dr. Volker Grabowsky
นายกสมาคมตัวแทน
ศาสตราจารย์ ดร. โฟลเกอร์ กราโบ๊ฟสกี้ ดำรงตำแหน่งศาตราจารย์ประจำสาขาภาษาและวัฒนธรรมไทย (ไทยศึกษา) สถาบันเอเชีย-แอฟริกา ณ เมืองฮัมบวร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒
ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ สถาบันชาติพันธุ์วิทยา มหาวิทยาลัยเวสต์แฟลิเชอ วิลเฮล์มส์ ณ เมืองมึนสเตอร์
มีความชำนาญพิเศษด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนชาติไตในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
Mail: volker.grabowsky@uni-hamburg.de

Pannarai Büchmann, M.A.
นายกสมาคมตัวแทน
ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสาร) พรรณรายณ์ บึคมันน์ สำเร็จปีการศึกษา ๒๕๔๕ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
นางพรรณรายณ์ บึคมันน์ เป็นอาจารย์สอนภาษาไทยในแผนกไทยศึกษาของสถาบันเอเชีย-แอฟริกาที่มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ก ตั้งแต่ภาคฤดูหนาวปีการศึกษา ๒๕๖๐ และเคยรักษาการในตำแหน่งอาจารย์สอนภาษาไทยแทนอาจารย์พัชรี คาสพาร์ ซิคเคอร์มันน์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๔
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๙ นางพรรณรายณ์ยังเคยสอนภาษาไทยหลายหลักสูตรในระดับต่างๆ ที่ Volkshochschule ของนครฮัมบวร์กอีกด้วย
Tel.: +49 40 42838-2668
Mail: pannarai.buechmann@uni-hamburg.de

Dr. Silpsupa Jaengsawang
ดร. ศิลป์ศุภา แจ้งสว่าง นักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกประจำศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมเอกสารตัวเขียน (CSMC) และอาจารย์สาขาภาษาและวัฒนธรรมไทย (ไทยศึกษา) มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับดุษฎีบัณฑิตในฐานะผู้ช่วยวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮัมบวร์ก พ.ศ. ๒๕๖๐ สาขาที่เชี่ยวชาญพิเศษ ได้แก่ วัฒนธรรมเอกสารตัวเขียนของชนชาติไต พิธีกรรมศึกษา วรรณคดีไทย และคติชนศึกษา ปัจจุบันอยู่ระหว่างทำโครงการวิจัยเอกสารตัวเขียนหลวงพระบาง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างพระและฆราวาส สนับสนุนโดย Cluster of Excellence ‘Understanding Written Artefacts’
Mail: silpsupa.jaengsawang@uni-hamburg.de

Prof. Dr. Sven Trakulhun
ดร. สเวน ตระกูลฮุน ดำรงตำแหน่งอาจารย์และนักวิชาการอิสระ สาขาประวัติศาสตร์ยุคต้นสมัยใหม่และประวัติศาสตร์สมัยใหม่ มหาวิทยาลัยโพสต์ดัม และอาจารย์สาขาภาษาและวัฒนธรรมไทย (ไทยศึกษา) แห่งสถาบันเอเชีย-แอฟริกา มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ก งานศึกษาวิจัยที่อยู่ในความสนใจ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและเอเชีย ประวัติศาสตร์โลก และประวัติศาสตร์ไทย
Mail: sven.trakulhun@uni-konstanz.de

Prof. Dr. Jonas Schmidt-Chanasit
Prof. Dr. Jonas Schmidt-Chanasit ist seit 2010 der stellvertretende Direktor des Kooperationszentrums der Weltgesundheitsorganisation (WHO) für Arboviren und hämorrhagische Fieberviren am Bernhard-Nocht-Institut für Tropenmedizin (BNITM) in Hamburg. Seit 2018 ist er Inhaber des Lehrstuhls für Arbovirologie an der Universität Hamburg und Leiter der Abteilung für Arbovirologie und Entomologie am BNITM. Ein Schwerpunkt seiner Arbeit liegt auf den durch Stechmücken übertragenen Viren (Arboviren) in Südostasien, insbesondere in Thailand, Laos und Vietnam.

พรรณทิภา ชื่นชาติ
พรรณทิภา ชื่นชาติ (แอม) อาจารย์สอนภาษาไทยและศิลปะการทำอาหารไทยที่ศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ (Volkshochschule) ในเยอรมนี และประจำอยู่ที่ศูนย์ครอบครัว (DRK Familienzentrum) ของสภากาชาดเยอรมนี พรรณทิภา เคยทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (ไทยศึกษา) ที่สถาบันเอเชียแอฟริกา มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ก เยอรมนี พรรณทิภามีประวัติการทำงานด้านวิชาการที่โดดเด่น เคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประเทศไทย สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ ๑ และสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตด้วยเกรดเฉลี่ย ๔.๐๐ จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย ปัจจุบัน พรรณทิภาอยู่ในระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก สาขาไทยศึกษา สถาบันเอเชียแอฟริกา มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ก ผลงานด้านวิชาการและประสบการณ์ด้านวิชาชีพของพรรณทิภา แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทในการทำงานด้านบูรณาการการศึกษา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการศึกษาทางวัฒนธรรมของทั้งไทยและเยอรมนี

ศ.ดร. โทนี่ วอเตอร์ส
ดร โทนี่ วอเตอร์ส ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ ปัจจุบันสอนที่มหาวิทยาลัย Leuphana University Lüneburg ประเทศเยอรมนี เคยมีประสบการณ์การสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ในช่างปี พ.ศ. ๒๕๕๙–๒๕๖๕ และมหาวิทยาลัย California State University, Chico ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙–๒๕๖๔ ดร โทนี่ วอเตอร์ส เคยทำงานเป็นอาสาสมัคร Peace Corps Volunteer ที่จังหวัดแพร่ ประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๒๓–๒๕๒๕) และทำงานในค่ายผู้อพยพที่จังหวัดน่านและพนัสนิคม (พ.ศ. ๒๕๒๕–๒๕๒๖) ในด้านการพัฒนาทักษะภาษาไทยนั้น ดร โทนี่ วอเตอร์ส ได้สอนวิชาการแปลไทย-อังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยพายัพ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๐

แกบี้ ฟอน มาล็อตกี้
แกบี้ ฟอน มาล็อตกี้ เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมไทยศึกษาในฮัมบวร์กตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัจจุบันในวัยเกษียณ แกบี้ยังคงทำงานเป็นผู้จำหน่ายหนังสือ ประสบการณ์การเดินทางไปประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เกิดขึ้นในระหว่างที่ไปพบปะเยี่ยมเยียนเพื่อนในโอกาสที่แต่งงานใหม่ในกรุงเทพฯ และพบปะครอบครัว ด้วยประสบการณ์ที่ดีที่มีต่อประเทศไทย แกบี้จึงได้เดินทางไปประเทศไทยอีกหลายครั้งตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา การใช้ชีวิตทั่วไปของแกบี้มักเกี่ยวข้องผูกพันกับวัฒนธรรมไทยที่นอกเหนือไปจากประสบการณ์ที่ได้รับในฐานะนักท่องเที่ยว จึงมีความสนใจในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศ
สมาชิก

Dr. Peera Panarut
ดร.พีระ พนารัตน์ ดำรงตำแหน่งนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ณ หน่วยวิจัยสู่ความเป็นเลิศว่าด้วยวัตถุตัวเขียน ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมหนังสือตัวเขียนภายใต้มหาวิทยาลัยฮัมบูร์กตั้งแต่ปี 2019 โดยดำเนินโครงการวิจัยเพื่อศึกษาศิลาจารึกกวีนิพนธ์สมัยต้นศตวรรษที่ 19 จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์, กรุงเทพฯ)
ก่อนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในปี 2015 และระดับปริญญาเอกในปี 2019 ณ มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก พีระ พนารัตน์สำเร็จการศึกษาปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาภาษาและวรรณคดีไทยเมื่อปี 2012
ความสนใจทางวิชาการของพีระ พนารัตน์ ได้แก่ นิรุกติศาสตร์ไทย (การวิพากษ์ต้นฉบับ, หนังสือตัวเขียนศึกษา, จารึกวิทยาและอักขรวิทยา), กวีนิพนธ์ไทยโบราณและประวัติวัฒนธรรมหนังสือไทย
Mail: peera.panarut@gmail.com