ประวัติความเป็นมาของการศึกษาของไทยในเมืองฮัมบวร์ก
สถาบันเอเชียแอฟริกา มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก ประกอบด้วยภาควิชาไทยศึกษา ย้อนกลับไปในปี 1958 จุดเริ่มต้นของภาควิชาไทยศึกษา ในฮัมบูร์กได้เริ่มขึ้นที่ ภาควิชาภาษาจีน ด้วยความคิดริเริ่มของ Oscar Benl นักญี่ปุ่นศึกษา ผู้เป็นอาจารย์ สอนภาษาไทยในขณะนั้น ในช่วงปีแรกของภาควิชาไทยศึกษา ช่วงทศวรรษที่ 1930 ผู้มีบทบาทที่โดดเด่น คือ อาจารย์หลวงกี กีรติ ผู้สอน ภายใต้ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ ดร. วอลแตร์ ตริทเทล (Prof. Dr. Walter Trittel) ในเบอร์ลิน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เคลาส์ เวงก์ (Klaus Wenk) ดร. ด้านกฎหมาย เป็นผู้ทำงานเคียง บ่าเคียงไหลกับเขา ศาสตราจารย์ ดร. Wenk อุทิศตัวเองเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อการศึกษา ด้านวรรณกรรมคลาสสิกและศิลปะไทย ในปี 1970 ศาสตราจารย์ ดร. Wenk ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาและวัฒนธรรมแห่งคาบสมุทรเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ และในขณะมีการก่อตั้งภาควิชาสำหรับประเทศไทยม พม่าและอินโดจีนขึ้นใหม่ ซึ่งมีเขาเป็นผู้นำในช่วง 22 ปีถัดมา
ศาสตราจารย์ ดร. เคลาส์ โรเซนแบร์ก (Klaus Rosenberg) ผู้ให้ความสำคัญอย่างมาก ในด้านอักษรศาสตร์ไทย ทำงานเป็นอาจารย์ในแผนก จากปี 1970 จนกระทั่งเขาเสียชีวิต ในปี 1988
เมื่อแม่ของ ศาสตราจารย์ ดร. Rosenberg เสียชีวิตในเดือนสิงหาคมปี 1997 เธอระบุว่า สินทรัพย์ของเธอจะถูกนำมาใช้สำหรับการจัดตั้งมูลนิธิ เคลาส์ โรเซนแบร์ก (Klaus Rosenberg-Stiftung) ซึ่งวัตถุประสงค์ของมูลนิธิคือ การส่งนักศึกษาของภาควิชาไป ศึกษาแลกเปลี่ยนยังประเทศไทย และ/หรือเพื่อสนับสนุนทุนให้แก่นักศึกษาไทยที่จะ มาศึกษาที่เมืองฮัมบวร์ก
ต่อมา ศาสตราจารย์ ยัน บาเรนด์ แทร์วิล ( Jan Barend Terwiel) นักมานุษยวิทยาและ ประวัติศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงในระดับสากล ได้กลายเป็นทายาททางวิชาการของ ศาสตราจารย์ ดร.เวงก์ โดยในปี 1992 ศาสตราจารย์ ดร. แทร์วิล ผู้เคยทำการสอน ในกรุงแคนเบอร์รา (Canberra) และมิวนิค (Munich) เป็นผู้มีความสามารถในด้าน ไทยศึกษาเป็นอย่างสูง เขาได้ให้ความสนใจต่อการศึกษาวัฒนธรรมของคนไท ที่อยู่อาศัยนอกประเทศไทย (ฉาน, อาหม และกลุ่มอื่น)
หลังจากการตายหลวงกี กีรติในปี 1967 ศาสตราจารย์อำภา โอตระกูล ได้รับตำแหน่ง อาจารย์สอนภาษาไทยจนกระทั่งปี 1978 หลังจากนั้นอาจารย์พัชรี คาสพาร์ ซิคเคอร์มันน์ (Patcharee Kaspar-Sickermann) รับหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอนจนถึงวันเกษียณของท่าน ในปี 2009 และในปัจจุบันตำแหน่งอาจารย์สอนภาษาไทย รับหน้าที่โดยอาจารย์ พรรณรายณ์ บูชมันน์ (Pannarai Büchmann)
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 สาขาวิชาไทยศึกษาร่วมกับหน่วยงานของอินโดนีเซียศึกษาและ เวียดนามศึกษา เปิดให้มีหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโทด้านภาษาและวัฒนธรรม ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมีการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สถาบัน เอเชียแอฟริกา ทำให้เกิดมีความหลากหลายของความเป็นไปได้ในความร่วมมือและ การพัฒนาด้านไทยศึกษาต่อไป
ส่วนในด้านการเรียนการสอนนั้น มีรายวิชาครอบคลุมทั้งด้านภาษา, วรรณคดี, ประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม การวิจัยในปัจจุบันมุ่งเน้นในด้านประวัติศาสตร์ ของประเทศไทยและประเทศลาว เช่นเดียวกับวัฒนธรรมของเอกสารตัวเขียนและ เอกสารต้นฉบับของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ปัจจุบันมีนักศึกษาปริญญาเอกราว 10 คน ซึ่งกำลังเขียนวิทยานิพนธ์ของพวกเขาในด้านประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม และ ภาษาศาสตร์